Sax Knowledge : Share Your Knowledge
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Sax Knowledge : Share your knowledge

กรุณาล็อคอิน เพื่อใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีบางบอร์ดถูกล็อคอยู่

Join the forum, it's quick and easy

Sax Knowledge : Share Your Knowledge
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Sax Knowledge : Share your knowledge

กรุณาล็อคอิน เพื่อใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีบางบอร์ดถูกล็อคอยู่
Sax Knowledge : Share Your Knowledge
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เนื้อหาสอบ บาสเกตบอล [FN1-54]

Go down

เนื้อหาสอบ บาสเกตบอล [FN1-54] Empty เนื้อหาสอบ บาสเกตบอล [FN1-54]

ตั้งหัวข้อ  Admin Wed 21 Sep 2011, 9:27 am

หาเนื้อหามาให้ ขออภัยที่ไม่มีเวลาสรุป เพราะทำไม่ทัน


ประวัติบาสเกตบอล
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ ไนสมิท บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากล กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (เรียกว่า ชู้ต, shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (เลี้ยงลูก, dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (ฟาล์ว, foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล
เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย
การฝึกเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
การฝึกเพื่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายนั้นมีระบบการฝึกหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงระบบการฝึกที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งสามารถ นำไปใช้ได้ตั้งแต่ บุคคลที่เพิ่งจะเริ่มเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกาย จนกระทั่งถึงบุคคลที่มีระดับสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์แล้ว(นักกีฬา) ซึ่งการนำไปใช้แตกต่างกันตรงที่ระดับความหนักในการฝึก ความถี่ในการฝึกและความนาน ในการฝึกไม่เท่ากันนั้น
การฝึกเพื่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายนั้นมีระบบการฝึกหลากหลายรูปแบบด้วยกัน ในที่นี้จะ กล่าวถึงระบบการฝึกที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่บุคคลที่เพิ่งจะเริ่มเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกาย จนกระทั่งถึงบุคคลที่มีระดับสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์แล้ว(นักกีฬา) ซึ่งการ นำไปใช้แตกต่างกันตรงที่ระดับความหนักในการฝึก ความถี่ในการฝึกและความนานในการฝึกไม่ เท่ากันนั้นเอง

ระบบการฝึกแบบต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
1. ระบบการฝึกแบบฟาร์ทเลค (Fartlek Training)
ฟาร์ทเลคเป็นภาษาสวีดิช หมายถึง การเล่นกับความเร็ว (Speed Play) มาจากประเทศสวีเดน การฝึกแบบนี้จะมีผลต่อสมรรถภาพทางกายคือ สร้างความอดทนของระบบไหเวียนโลหิตกับการหายใจ และสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ ลักษณะของการฝึกแบบฟาร์ทเลค ประกอบด้วย
2. ระบบการฝึกสลับพัก (Interval Training)
การฝึกสลับพักเป็นวิธีการฝึกที่พัฒนาขึ้นโดยประเทศเยอรมัน เพื่อสร้างความอดทนและ ความเร็วในการเคลื่อนไหว จุดประสงค์ของการฝึกอยู่ที่การเพิ่มอัตราการเต้นของชีพจรเป็นหลักในขณะ ทำการฝึก ระดับสูงสุดของอัตราการเต้นชีพจรอยู่ระหว่าง 160 - 180 ครั้ง/นาที เป็นการฝึกเพื่อสร้าง ความเร็ว ถ้าอัตราการเต้นชีพจรสูงสุดอยู่ระหว่าง 140 - 160 ครั้ง/นาที เป็นการฝึกเพื่อสร้างความอดทน ของกล้ามเนื้อและช่วงเวลาพักสำหรับการฝึกแต่ละครั้งก็คือ ช่วงเวลาที่ทำให้อัตราการเต้นของชีพจรลด ต่ำลงถึง 120 ครั้ง/นาที ลักษณะของการฝึกแบบสลับพัก ประกอบด้วย
3. ระบบการฝึกแบบวงจรหรือเป็นสถานี (Circuit Training)
การฝึกแบบวรจรเป็นวิธีการที่ได้ถูกพัฒนามาจาก นายมอร์แกน และอดัมสัน (Morgan and Adamson) แห่งภาควิชาพลศึกษา มหาวิทยาลัยลีดส์ (Leeds University Physical Education Dept) ประเทศอังกฤษ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายในด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียน โลหิตและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การฝึกแบบนี้เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจกรรมการเคลื่อนไหว ลักษณะต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการฝึก กิจกรรมเหล่านั้นถูกกำหนดขึ้นมาโดยผู้ฝึกแบ่งแยก การฝึกกิจกรรมต่าง ๆเป็นสถานี ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละสถานีฝึก ลักษณะของการฝึกแบบวงจรหรือ สถานี ประกอบด้วย
4. ระบบการฝึกแบบต่อเนื่อง (Continuous Training)
การฝึกแบบต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียน โลหิต เป็นการฝึกที่กระทำต่อกิจกรรมนั้น ๆ อย่างต่อเนื่องไม่มีการหยุดจนกว่าจะครบตามระยะทางหรือ ระยะเวลา หรือจำนวนครั้งที่ผู้ฝึกกำหนดขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่กำหนดนั้นจะเป็นอะไรขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของผู้ฝึก การฝึกแบบนี้ร่างกายจะพบสภาวะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีลักษณะอัตราการเต้นของ ชีพจรคงที่ (Steady State) คือ ปริมาณของออกซิเจนที่ร่างกายนำไปใช้พอดีกับปริมาณงานที่กระทำใน ขณะนั้น ซึ่งจะอยู่ในช่วงอัตราการ

5. ระบบการฝึกแบบการยกน้ำหนัก (Weight Training)
การฝึกยกน้ำหนักเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และสิ่งที่จะ เกิดขึ้นตามมาก็คือ ความอดทนของกล้ามเนื้อและการลดลงของไขมันในร่างกาย ผลที่เกิดขึ้นจากการยก น้ำหนักนี้จะเป็นพื้นฐานในความเร็ว และความสามารถในการเคลื่อนไหวต่อไป ในการฝึกยกน้ำหนัก สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือมาฝึกได้ 2 อย่างคือ
5.1 ประเภทอุปกรณ์ที่เป็นฟรีเวท (Free Weight) ได้แก่ บาร์เบล ดัมเบล
5.2 ประเภทเครื่องมือยกน้ำหนักที่เป็นสถานี (Universal Gym-machines or Stationary Weight Training)
มารยาทของผู้เล่นกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. มีความรู้เรื่องระเบียบและกฎกติกาการเล่น
๒. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมต่อการเล่นหรือการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล
๓. เล่นกีฬาด้วยความสนุกสนานและมีมารยาท มีความสุภาพทั้งกิริยาท่าทางตลอดจนคำพูด
๔. ให้เกียรติและเชื่อฟัง ยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
๕. มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักให้อภัย
๖. เป็นผู้ที่ตรงต่อเวลา
๗. ไม่ควรดูถูกความสามารถผู้อื่น จะด้วยวาจาหรือท่าทาง
๘. ควรแสดงความยินดีและชมเชยเมื่อผู้เล่น เล่นได้ดี
๙. ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้างเมื่ออุปกรณ์มีจำกัด
๑๐. ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการยั่วยุหรือกลั่นแกล้งผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
๑๑. ต้องเล่นตามระเบียบตามกติกาที่กำหนดไว้
๑๒. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอน และต้องปฏิบัติตาม
๑๓. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
๑๔. รู้จักระงับอารมณ์เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม
๑๕. ไม่ครอบครองลูกบอลแต่เพียงผู้เดียวต้องแจกจ่ายให้เพื่อนร่วมทีมบ้าง
๑๖. เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
๑๗. การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแ้พ้หรือชนะ
๑๘. หลังจากการแ่ข่งขันแล้วไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะจะต้องฝึกซ้อมให้ดียิ่งขึ้น
๑๙. มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน
๒๐. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในขณะฝึกซ้อมหรือแ่งขัน
๒๑. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
มารยาทของผู้ชมกีฬาบาสเกตบอลที่ดี
๑. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้เล่นที่เล่นได้ดี ผู้เล่นมีมารยาทดี ทีมชนะการแข่งขันหรือผู้เล่นที่ได้รับรางวัล
๒. ไม่แสดงอาการหรือส่งเสียงยั่วยุจนทำให้ผู้เล่นหรือกองเชียร์ฝ่ายตรงข้ามเกิดโทสะ
๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนด่า ใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา ผู้ตัดสิน ผู้ชมหรือคัดค้านการตัดสิน
๔. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเสพเครื่องดื่มมึนเมาขณะชมการแข่งขัน
๕. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุอันเป็นอุปสรรคต่อการเล่นของผู้เล่น และผู้ตัดสิน
๖. นั่งดูด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น
๗. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสินและนักกีฬาลงสนาม
๘. ควรศึกษากฏกติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดูเป็นอย่างดี
๙. การชมเป็นหมู่คณะ ควรนั่งรวมกันเป็นกลุ่มและเชียร์ด้วยเพลงสุภาพ
๑๐.ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในเมื่อเกิดเหตุความวุ่นวายในสนาม
๑๑. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกชนิดเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
๑๒. ไม่ควรเปล่งวาจาสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
การดูแลรักษาอุปกรณ์
๑. ไม่นำลูกบาสเกตบอลมาใช้เป็นที่รองนั่ง หรือยืนจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง
๒. อุปกรณ์การเล่นเมื่อเลิกเล่นแล้วต้องสำรวจดูให้ครบถ้วนและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
๓. ห้ามกระโดดเกาะ โยกเสาประตูหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น
๔. จัดเวรนำอุปกรณ์ และเก็บอุปกรณ์ไปไว้ในที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
๕. ลูกบาสเกตบอลควรสูบลมให้มีความแข็งถูกต้องตามกติกา
๖. ในการปล่อยลมลูกบาสเกตบอลไม่ควรใช้ไม้ ลวด ตะปู หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่ใช่เครื่องปล่อยลม
๗.ห้ามนำลูกบาสเกตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่นนำไปเตะ
๘. ถ้าลูกบาสเกตบอลเปียกน้ำหรือเปรอะเปื้อนให้เช็ดทำความสะอาดเก็บไว้ในที่ร่ม มีลมพัดผ่านแทนการผึ่งแดด
๙. รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด และเส้นสนามควรชัดเจนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเล่น
๑๐.สำรวจเสาประตู กระดานหลัง หรือห่วงให้แน่นหนาแข็งแรง และปลอดภัย
๑๑.ตาข่ายควรใช้เทปหรือลวดพันยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ
๑๒.สนับเข่า ผ้าพันข้อเท้า ชุดฝึกหรือชุดแข่งขันควรซัก และตากให้แห้งและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ได้เสมอ
การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
การตรวจร่างกาย
เพื่อหาความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกายซึ่งมักจะไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดอาการอะไรเลยในชีวิตประจำวัน เช่น เท้าแบน ข้อเท้าเอียงขาโก่ง หลังคด หน้าอกแฟบ และขายาวสั้นไม่เท่ากันเป็นต้น แต่ถ้าไปเล่นกีฬามากๆ หรือฝึกอย่างหนักจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ เช่น เมื่อเวลาเราวิ่ง โดยที่ตัวลอยพ้นจากพื้น เท้าและขาของเราต้องรับน้ำหนักมากกว่าการเดินตามปกติถึง 3 เท่า จึงทำให้เกิดปัญหาต่อโครงสร้างที่ไม่ปกติได้
ตรวจสอบสมรรถภาพของร่างกายก่อน
ความสมบูรณ์ของร่างกาย เราทราบได้โดยการตรวจสอบสมรรถภาพร่างกาย ทำให้รู้ว่าสุขภาพของนักกีฬาเป็นอย่างไร มีขีดความสมบูรณ์เพียงใด มีจุดบกพร่องเนื่องมาจากการบาดเจ็บครั้งก่อนอันอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้หรือไม่ นักกีฬาแต่ละคนย่อมมีความสามารถแตกต่างกัน
ขั้นตอนสำคัญของการเล่นกีฬา คือ เน้นการฝึกพื้นฐาน เพื่อทำให้นักกีฬามีความสมบูรณ์พื้นฐานทั่วไปเสียก่อน แล้วจึงค่อยเน้นการฝึกเฉพาะในแต่ละประเภทของกีฬา นักกีฬาที่มีความสมบูรณ์มีโอกาสได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าเพราะความสมบูรณ์ของร่างกายช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกาย เช่น มีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่า มีความทนทานกว่า มีความรวดเร็วกว่า และเกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าช้า
หลักการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาครับอุปกรณ์การกีฬาโดยทั่วไปอุปกรณ์การกีฬาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. อุปกรณ์กีฬากลาง คือ พื้นวิ่ง สนามแข่งขันหรือทำเลสถานที่ในการเล่นกีฬา
2. อุปกรณ์กีฬาประจำตัว เช่น รองเท้า เครื่องนุ่งห่มอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยลดการบาดเจ็บได้ เช่น รองเท้า ควรเหมาะแต่ละชนิดกีฬา พื้นนิ่ม ยืดหยุ่นได้ ไม่ควรสวมรองเท้าที่มีพื้นแข็งประเภทที่ต้องใช้แร็คเกตควรเป็นชนิดที่สปริงดี ไม่แข็งกระด้าง มิฉะนั้น จะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อศอกได้
การอุ่นเครื่องหรือวอร์มอัพ หมายถึงการทำให้ร่างกายอบอุ่น (warm up) คือ การเตรียมร่างกายให้พร้อม แต่ก็ไม่ใช่อุ่นเครื่องมากเกินไปจนกลายเป็น วอร์มเอาต์ (warm out) คือหมดแรงหรือเมื่อยล้าโดยเฉพาะบ้านเมืองเราอากาศร้อนอยู่แล้วจึงไม่ควรอุ่นเครื่องมากนัก
การอุ่นเครื่องที่สำคัญที่สุด คือ การยึดกล้ามเนื้อให้เต็มที่ในทุกๆ ส่วนที่จะต้องใช้ในการเล่นกีฬา การอบอุ่นร่างกายจะทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวอยู่นั้นอ่อนตัวลงบ้าง เพื่อเผชิญกับการถูกยืดหรือเหยียดอย่างกะทันหันในขณะเล่นกีฬาทำให้เกิดความคล่องตัวยืดหยุ่นและอดทนได้ดี เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้น้อยที่สุด
การคลายอุ่นหรือวอร์มดาวน์ (warm down) หลังการเล่นกีฬาสิ้นสุดลง อย่าหยุดโดยทันที เพราะหัวใจยังเต้นเร็วอยู่สำคัญมาก อันตรายมาก อาจทำให้ถึงตายได้ ให้เคลื่อนไหวต่อไปเรื่อยๆ สักครู่เพื่อให้หัวใจเต้นช้าลงใกล้เคียงปกติเสียก่อน เช่น หนุ่มสาวควรให้ช้าลงถึงประมาณ 120 ครั้งต่อนาที ในคนสูงอายุควรให้ช้าลงถึงประมาณ 200 ครั้งต่อนาที จากนั้นจึงหยุดพักได้ เชื่อว่านักรบชาวกรีกที่วิ่งระยะทางไกลเพื่อมาบอกข่าวเรื่องการรบนั้น เมื่อรายงานเสร็จแล้วถึงแก่กรรมทันทีก็เนื่องจากสาเหตุนี้
ทักษะพื้นฐานของกีฬาบาสเกตบอล
ทักษะพื้นฐานของบาสเกตบอล สำหรับทักษะพื้นฐานของที่กีฬาบาสเกตบอลก็ได้แก่ การเลี้ยงบอล การส่งบอล และการยิงประตูครับ
การเลี้ยงบอล(Dribbling) ขณะเลี้ยงบอล ควรนำลูกบอลไปไว้ด้านข้างลำตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการป้องกันหรือเข้าแย่งจากฝ่ายตรงข้าม วิธีการเลี้ยงบอล ควรใช้นิ้วกดลงที่ลูกบอล อาจใช้ข้อมือช่วยส่งแรง และควรฝึกการใช้มือทั้งสองข้างในการเลี้ยงบอล สิ่งสำคัญของการเลี้ยงบอล คือ ไม่ควรมองลูกบอลที่ตนเองกำลังเลี้ยงอยู่ ให้มองผู้เล่นหรือทิศทางในสนาม การเลี้ยงบอลแบ่งออกเป็นหลายประเภทแล้วแต่สถานการณ์นั้นๆครับ
การเลี้ยงบอลต่ำ เป็นวิธีเลี้ยงบอลเมื่อถูกป้องกันอย่างใกล้ชิด ผู้เลี้ยงบอลต้องย่อตัว ฝ่ามืออยู่บนลูกบอล ในการเลี้ยงบอลให้ลูกบอลกระทบพื้นในระดับต่ำ และควบคุมลูกบอลให้อยู่ข้างลำตัวเพื่อป้องกันการแย่งจากฝ่ายตรงข้ามครับ
การเลี้ยงบอลสูง เมื่อเลี้ยงบอลแล้วไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามป้องกันและต้องใช้ความเร็ว ควรจะใช้การเลี้ยงในลักษณะนี้ โดยการผลักลูกบอลไปข้างหน้า ให้ลูกบอลxxxนระดับเอว มือไม่จำเป็นต้องอยู่ด้านบน สามารถอยู่ด้านหลังของลูกเพื่อผลักลูกไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว
การเลี้ยงบอลสลับซ้าย-ขวา หากฝ่ายตรงข้ามป้องกันอย่างใกล้ชิดและผู้เลี้ยงบอลที่เลี้ยงด้านหน้าของฝ่ายตรงข้าม จะถูกแย่งและปัดบอลได้ง่ายครับ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงบอลสลับซ้าย-ขวา เพื่อหลบการปัดหรือแย่งบอลจากฝ่ายตรงข้ามครับ
การเลี้ยงบอลลอดใต้ขา เป็นวิธีการเลี้ยงบอลทีใช้มือกดลูกบอลให้ลอดใต้ขา ใช้ขณะโดนป้องกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหลบและเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ครับ จะทำใหฝ่ายตรงข้ามเสียจังหวะครับ
การส่งบอล(Passing)
การส่งบอลสองมือระดับอก เป็นการส่งบอลที่นิยมใช้เป็นส่วนมากครับ เพราะเป็นพื้นฐานของการส่งบอลครับ จะต้องดึงบอลเข้าหาลำตัว ปล่อยบอลให้แขนและมือเหยียดออกและสลัดข้อมือเพื่อช่วยส่งแรงครับ
การส่งบอลสองมือระดับพื้น เป็นวิธีการส่งบอลขั้นพื้นฐานเช่นกันครับ ใช้ขณะที่การส่งบอลสองมือระดับอกไม่สามารถใช้ได้ หรือส่งได้ยากครับ
การส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ เป็นการส่งบอลให้กับผู้เล่นในการส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังหรือใช้กับการเล่นลูกเร็ว อาจจะใช้โดยอาศัยประโยชน์จากความสูงด้วยครับ
การส่งบอลมือเดียวอ้อมหลัง เป็นการส่งบอลที่ใช้ความสามารถเฉพาะตัว อาจจะใช้เพื่อหลอกล่อคู่ต่อสู้ได้ นิยมใช้มากในปัจจุบัน จะต้องมีแรงข้อมือและนิ้ว จึงจะส่งได้อย่างแม่นยำครับ

การยิงประตู(Shooting) หรือที่เรียกกันว่าการชู๊ต สำหรับกีฬาบาสเกตบอล การยิงประตูถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดครับ เพราะถ้าหากยิงประตูไม่ได้ ก็จะไม่คะแนน ถึงแม้จะเลี้ยงบอลได้คล่องแคล่ว หรือส่งบอลได้อย่างแม่นยำ แต่ยิงประตูไม่ได้ ก็ไม่ชนะในการแข่งขันครับ
การยืนยิงประตู การยิงประตูในลักษณะนี้ โดยทั่วไปไม่ใช้ในการแข่งขัน เพราะง่ายต่อการป้องกัน และปัดบอล ส่วนมากแล้วจะใช้ในการโยนโทษครับ
การก้าวกระโดดขึ้นยิงประตู หรือที่เรียกกันว่า เลย์อัพนั่นแหละครับ ถ้าหากอยากจะฝึกเรื่องการยิงประตูละก็ ควรฝึกการเลย์อัพเป็นอย่างแรกครับ เพราะการยิงประตูลักษณะนี้เป็นการพาลูกบอลเคลื่อนที่ซึ่งใช้แรงส่งจากการก้าวเท้าและกระโดดลอยตัวยกมือ งอเข่า แล้วปล่อยบอลเบาๆให้กระทบกับแป้นครับ ถ้าปล่อยบอลแรงจะทำให้ลูกxxxนออกมา ดังนั้นจึงควรออกแรงให้เหมาะกับจังหวะที่กระโดดครับ
การกระโดดยิงประตู เป็นการยิงประตูที่ใช้มากระหว่างการแข่งขัน เพราะสกัดได้ยากและหวังผลได้มากที่สุดครับ แต่จะได้เปรียบถ้าผู้เล่นที่ยิงประตูมีความสูงครับ
การยัดห่วงประตู หรือที่เรียกกันว่า ดั๊งก์ นั่นแหละครับ การยิงประตูลักษณะนี้ใช้ได้เฉพาะกับผู้เล่นที่มีความสูงหรือสามารถกระโดดได้สูงครับ การยิงประตูลักษณะนี้ยากต่อการป้องกันเพราะไม่มีช่วงของลูกบอลที่ลอยอยู่ครับ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อทีมอีกด้วยครับ
กติกาการเล่น
เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควอเตอร์ (quarter) แต่ละควอเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง)
ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์
เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้
แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด
เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก
อุปกรณ์การเล่น
อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน การเล่นในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น
ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้
ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือนทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก [แก้]ข้อบังคับ
ลูกสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก ดริบบลิง, dribbling)
ลูกจะต้องอยู่ในสนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า แทรเวลลิง, travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า ดับเบิล-ดริบบลิง, double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่
ผู้เล่นจะต้องนำลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี
ห้ามผู้เล่นรบกวนห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก โกลเทนดิง (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล


ฟาล์ว
การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ฟาล์ว (foul) ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาล์วแต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาล์วได้เช่นเดียวกัน คนที่ถูกฟาล์วจะได้ส่งลูกจากข้างสนาม (inbound) เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ ฟรีโทร (free throw) ถ้าการฟาล์วเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูกฟาล์วนั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต)
การที่จะมีฟาล์วหรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาล์วของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาล์วอาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน
ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดนเทคนิคัลฟาล์ว หรือ ฟาล์วเทคนิค (technical foul) ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้ ฟาล์วที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่าฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา หรือ ฟาล์วรุนแรง (unsportsmanlike foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ) ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาล์วธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย
ถ้าทีมทำฟาล์วเกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควาเตอร์ หรือ ในครึ่งเกม) ซึ่งก็คือ สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับการฟาล์วที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อๆ ไป จากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาล์วจะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาล์วรวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาล์วด้วย (บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาล์วได้หกครั้ง) ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่าฟาล์วเอาท์ (foul out)

ข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/บาสเกตบอล
http://www.comed51.ob.tc/page5.html
http://www.kc4510699.ob.tc/3.html
http://mthaikub.igetweb.com/index.php?mo=3&art=411075
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/20874
Admin
Admin
Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 150
Join date : 11/05/2011

https://saxknowledge.thai-forum.net

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ